มุมภาษี – ภาษีจากการจำหน่ายหนี้สูญ
1. กรณีบริษัท B ให้เงินแก่บริษัท A เพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการโดยที่บริษัท B ได้ตั้งบริษัท A ไว้เป็นลูกหนี้ ไม่ว่าบริษัท B จะคิดดอกเบี้ยจากบริษัท A หรือไม่ ถือเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ตามข้อ 3 (1) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)
2คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. หนี้จากการประกอบกิจการ หรือ เนื่องจากการประกอบกิจการ ตามข้อ 3 (1) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการค้าระหว่างบริษัท A กับบริษัท B เพียงมีข้อตกลงหรือสัญญาให้กู้ยืมเงินระหว่างกัน ก็เข้าลักษณะเป็นหนี้จากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการแล้ว
3คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. หนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ข้อ 3 (1) หมายถึง หนี้จากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างกัน ไม่ใช้กรณีที่บริษัท B ต้องไปบวกกลับเป็นรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.50 รายการที่ 9 แต่อย่างใด
4. ในกรณีที่บริษัท A ดำเนินการจดเลิกกิจการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และดำเนินการยื่นล้มละลายด้วยตนเองที่ศาลประเทศไทย และปฏิบัติตามข้อ 4 (3) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) แล้วนั้น บริษัท B สามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชีได้สองกรณี
5. จากกรณีตามข้อที่ 4 ดังกล่าว ในทางบัญชี บริษัท B สามารถตัดจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชี โดยตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ
แต่ในทางภาษีอากรต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด จึงจะสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนั้น ในแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัท B นำมากรอกตัวเลขในรายการที่ 8 รายจ่ายในการขายและบริหาร หัวข้อหนี้สูญ แต่ต้องปรับปรุงบวกกลับในแบบ ภ.ง.ด.50 ในรายการที่ 9 รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร ข้อ 3 เพราะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม จนกระทั่งเป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ดังกล่าวเสียก่อน จึงจะนำมากรอกในแบบ ภ.ง.ด.50 รายการที่ 10 รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ข้อ 2.20.